ทฤษฎีไร้ระเบียบ พลิกมุมมองต่อโลกธรรมชาติสู่กระแสวิทยาศาสตร์ใหม่ |
|
|
หน้า 70 จาก 206
หน้า 70
* ในหน้านี้จะกล่าวถึงดุลยภาพและการเปลี่ยนผ่าน ระหว่างความมีระเบียบกับความไม่มีระเบียบ มีภาพแสดงสองภาพคือ ภาพด้านบนแสดงดุลยภาพของระบบ ระบบในที่นี้แสดงถึงประชากร ในสภาพสมดุลนั้น จำนวนประชากรในระบบจะไม่เปลี่ยนรวมถึงจำนวนประชากรที่วัยต่าง ๆ กันก็คงที่ด้วย
ในสภาวะที่ห่างไกลจากดุลยภาพ เช่น ในสภาวะที่จำนวนประชากรที่เกิดใหม่ต่างจากจำนวนประชากรที่แก่ตายไปเป็นอย่างมากนั้น จำนวนประชากรในระบบจะเปลี่ยนแปลงไป หากประชากรที่เกิดใหม่มีมากกว่าประชากรที่แก่ตายมาก ๆ แล้วจำนวนประชากรในวัยเยาว์จะมีแนวโน้มสูงขึ้น หากประชากรที่เกิดใหม่มีน้อยกว่าประชากรที่แก่ตาย จะทำให้ประชากรสูงวัยมีจำนวนลดลง ระบบจะไม่คงตัว จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีพลวัตขึ้น จะมีการจัดกลุ่มเพื่อทำหน้าที่ควบคุมประชากร หรือมีการควบคุมประชากรโดยธรรมชาติ เช่นสภาพแออัดทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมก่อให้เกิดโรคระบาด เป็นต้น จนต้องเกิดการจัดกลุ่มเพื่อกำจัดโรคต่อไปอีก
โครงสร้างประชากรมีการจัดระเบียบใหม่ และเกิดความวุ่นวายสลับไปมาอย่างคาดเดาได้ยาก โครงสร้างที่เกิดขึ้นใหม่นี้จะขับเคลื่อนได้ต้องมีการจัดสรรทุน หรือในระบบทางฟิสิกส์จะต้องขับเคลื่อนด้วยพลังงาน ทำให้มองได้ว่า โครงสร้างระบบใหม่นี้เป็นตัวกระจายพลังงานหรือเงินทุนออกไปเรียกว่า โครงสร้างกระจัดกระจาย เช่น แรงเสียดทานเป็นโครงสร้างที่กระจายความร้อนออกไป เป็นต้น
|