ทฤษฎีไร้ระเบียบ พลิกมุมมองต่อโลกธรรมชาติสู่กระแสวิทยาศาสตร์ใหม่ |
|
|
หน้า 206 จาก 206
หน้า 206
หน้า ๑๐๒
แผนภาพในหน้านี้ ชี้ให้เห็นการเชื่อมต่อกันระหว่างขอบเขตของฟิสิกส์แบบเก่า (Classical) กับฟิสิกส์ควอนตัม (Quantum) สิ่งที่ผู้เขียนต้องการให้มองคือ ถึงแม้พฤติกรรมของอนุภาคภายใต้ขอบเขตฟิสิกส์เก่า และขอบเขตของควอนตัมมีความเป็นระเบียบที่ดีมาก กล่าวคือ สามารถทำนายปรากฏการณ์ได้อย่างแม่นยำแล้ว แต่ความเป็นระเบียบในขอบเขตทั้งสองนี้ก็แตกต่างกัน นั่นคือ ความสามารถทำนายผลลัพธ์ได้ในทุก ๆ การทดลอง แต่ความสามารถในการคาดการณ์ในขอบเขตควอนตัมจะหมายถึงการที่เราสามารถทำนายค่าเฉลี่ยของผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองแบบเดียวกันหลาย ๆ ครั้ง โดยแต่ละครั้งของการทดลองจะไม่สามารถทำนายผลลัพธ์ออกมาได้
ความเป็นระเบียบที่แตกต่างกันในขอบเขตที่แต่งต่างกันนี้ อาจจะถูกทำลายลงในขณะที่อยู่ในรอยต่อของทั้งสองขอบเขต (ผลลัพธ์ของการศึกษานี้ ปรากฏอยู่ในหน้า ๑๐๕)
หน้า ๑๑๑
แสดงกราฟความสัมพันธ์ของราคาและผลผลิตที่จำหน่ายได้ ที่มีลักษณะของความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงตามทฤษฎีเศรษฐกิจเดิม
หน้า ๑๓๖
แสดงภาพสถาปัตยกรรมแบบบารอค ที่ย่อส่วนเอาภาพโครงสร้างขนาดใหญ่มาใส่ซ้อนเข้าไปเป็นรายละเอียดในส่วนหนึ่งของโครงสร้างดังกล่าว เช่น นำเอกลักษณะของโครงสร้างของชั้นอาคารมาย่อส่วนเป็นราวระเบียงภายในชั้นนั้น เป็นต้น
|