การใช้โอห์มมิเตอร์วัดหาตำแหน่งขาของ LED ดวงเดี่ยว |
|
|
โอห์มมิเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการหาค่าคตวามต้านทานมีแหล่งจ่ายไฟในตนเอง โดยใช้แบตเตอรี่ขนาดเล็ก ดังโครงสร้างตามรูป 7
รูป 1
ปกติโอห์มมิเตอร์จะรวมอยู่ในมัลติมิเตอร์ หากเป็นโอห์มมิเตอร์ที่ผู้ผลิตอยู่ในทวีปเอเซีย ส่วนใหญ่ขั้วบวกของแบตเตอรี่จะต่อกับสายวัดที่เป็น Common หรือ ขั้วลบ ซึ่งเป็นสายสีดำ
หลักการของโอห์มมิเตอร์ในลักษณะนี้ก็คือกระแสไฟฟ้าจะไหลออกจากมิเตอร์ทางสายลบหรือสายสีดำ และไหลเข้าตัวมิเตอร์ทางสายบวก หรือสายสีแดง
วิธีการใช้โอห์มมิเตอร์วัดหาขั้วของ LED
1. ตั้งโอห์มมิเตอร์ไว้ที่ย่าน (range) คูณ 10
2. นำสายวัดทั้งสองของมิเตอร์แตะกัน เข็มของมิเตอร์จะต้องเบนไปทาง 0 โอห์ม หากไม่ถึง 0 โอห์มปรับมิเตอร์ให้เข็มชี้ 0 โอห์ม หากเข้มไม่เบนให้ตรวจสอบปัญหาของโอห์มมิเตอร์ เช่นสายวัดอาจขาด หรือ แบตเตอรี่ขาด
รูป 2
3. นำสายดำแตะที่ขา หนึ่ง และสายแดงแตะที่ขา สอง LED สว่างหรือไม่ เข็มเบนหรือไม่
- ถ้าสว่างและเข็มเบน แสดงว่า ขาที่สายสีดำแตะอยู่นั้นเป็นขา Anode และขาที่สายสีแดงแตะอยู่นั้นเป็นขา Cathode
- ถ้าเข็มไม่เบนและ LED ไม่สว่าง ให้กลับสายมิเตอร์
4. หากยังสรุปไม่ได้ให้กลับสายวัดมิเตอร์แล้ววัดซ้ำ สังเกตตามข้อ 2
สรุป ผลจากการวัดเป็นดังนี้
- หากวัดตามวิธีการแล้วพบว่า เข็มเบน และ LED สว่าง แสดงว่า LED นั้นใช้ได้ ขาที่สายสีดำ (สายลบ) แตะอยู่จะเป็นขา ANODE หรือขาที่ปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้า ขาที่เหลือเป็น CATHODE หรือขานี้ให้กระแสไฟฟ้าไหลออก
- หากวัดแล้วเข็มเบนแต่ไม่สว่างและกลับสายวัดแล้ว เข็มยังเบนอีก แสดงว่าลัดวงจรใช้ไม่ได้
- หากวัดแล้ว เข็มยังไม่เบนทั้งสองข้างแสดงว่าขาด ชำรุดแล้วใช้ไม่ได้เช่นเดียวกัน
- เมื่อวัดเสร็จแล้วให้ปิดสวิทช์โอห์มมิเตอร์ถ้ามี หรือปิดปุ่มเลือกย่านวัดไปที่ OFF หรือกรณีที่เป็นมัลติมิเตอร์ ไม่มีตำแหน่ง OFF หรือไม่ม่สวิทช์ตัดวงจร ให้บิดปุ่มเลือกย่านวัดไปที่ ตำแหน่งวัด DC V สูงสุด
|