หน้า 4 จาก 6
ซุปเปอร์โซคเกอร์
ด้วยเหตุผลที่ว่า ปืนฉีดน้ำแบบดั้งเดิม ได้แรงฉีดของน้ำน้อย และไปได้ไม่ไกลนัก ถึงแม้จะใช้มอเตอร์ช่วยหมุน ก็ไม่ได้เพิ่มแรงขึ้นมากซักเท่าไรนัก ส่วนบาซูก้าน้ำ ต้องใช้แรงมาก ไม่เหมาะกับผู้ที่มีแรงน้อย
ขณะนั้นยังไม่มีนักประดิษฐ์คนใดสามารถแก้ปัญหานี้ได้ รอจนกระทั่งปี 1982 นักนิวเคลียร์ฟิสิกส์ นาย รอนนีย์ จอร์นสัน ( Lonie Johnson) อาศัยความบังเอิญ แก้ปัญหานี้ได้ ช่วงนั้นเขากำลังทำงานวิจัยเกี่ยวกับระบบทำความร้อน ซึ่งใช้การไหลของน้ำควบคุมอุณหภูมิ คืนหนึ่งขณะที่กำลังแก้ไขปั๊มที่ติดกับซิงค์น้ำ ปั๊มเกิดรั่ว น้ำพุ่งออกมาอย่างแรง เขามองดูปั๊มอย่างพินิจพิเคราะห์ พบว่า แรงดันน้ำมากกว่าแรงขับดันของปั๊ม เกิดไอเดียปิ๋ง ?
รูปที่ 8 ซุปเปอร์โซคเกอร์ รุ่นยอดนิยม CPS 1200
ถึงแม้ นายจอร์นสันจะมีแนวคิดใสปิ๋ง แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะเป็นนักทฤษฏี จึงไปขอความช่วยเหลือนักประดิษฐ์ ชื่อ นาย บรูซ ดีแอนเด (Bruce D'Andrade) ปรึกษากันอยู่หลายวัน หนึ่งเป็นนักคิด อีกหนึ่งเป็นนักประดิษฐ์ จึงสามารถประดิษฐ์ซุปเปอร์โซคเกอร์ออกมาได้สำเร็จ
หลักการทำงานของซุปเปอร์โซคเกอร์ ก็คือ เพิ่มแรงดันให้น้ำภายในก่อนที่จะยิงน้ำออกไป ด้วยการปั๊มอากาศเข้าไปในถังบรรจุน้ำ ยิ่งปั๊มอัดอากาศเข้าไปได้มากเท่าไร แรงดันที่กระทำกับน้ำก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
ยุคแรกเริ่ม ใช้ปั๊มอัดอากาศ แต่รุ่นที่พัฒนาในภายหลัง ใช้ทั้งน้ำและอากาศอัดเข้าไปพร้อมกัน ซึ่งควบคุมได้ง่ายกว่า รูปข้างล่างท่านจะได้เห็นการทำงานของซูปเปอร์โซคเกอร์
คลิกครับ
ภาพบนสามารถเคลื่อนไหวได้ โดยคลิกเข้าไปที่คลิกครับ
รูปที่ 9 การทำงานของซุปเปอร์โซคเกอร์
A : ถังบรรจุน้ำ A B : ถังอัดอากาศ B C: ก้านชัก D: ก้านลูกสูบ
E : กระบอกสูบ F: วาวล์ทางเดียวตัวที่หนึ่ง G: วาวล์ทางเดียวตัวที่สอง
ปืนมีส่วนที่บรรจุน้ำอยู่ 2 ถัง ( ถังบรรจุน้ำ A และ ถังอัดอากาศ B) ต่อกันด้วยท่อน้ำ เพื่อจะเพิ่มแรงดันของน้ำในถัง A ให้ท่านชักก้านชัก C เข้าและออกหลายๆครั้ง ก้านชัก C ต่อกับก้านลูกสูบ D ซึ่งเลื่อนอยู่ในกระบอกสูบ E โดยมีวาวล์ทางเดียว F ต่ออยู่กับถัง A และปั๊ม ส่วนวาวล์ทางเดียว G ต่อระหว่างปั๊มกับถัง B ซึ่งมีแรงดันอากาศเพิ่มขึ้นจากเลื่อนก้านชัก C เข้าออก
รูปที่ 10 ภายในของซุปเปอร์โซคเกอร์ คือระบบปั๊ม กับท่อน้ำ คล้ายๆกับระบบท่อน้ำในบ้านของเรานี่แหละ
จากรูปที่ 9 เมื่อเราเลื่อน C ไปทางซ้าย จะมีแรงดูดน้ำจากถัง A เข้าไปในระบบปั๊ม ผ่านวาวล์ทางเดียว F ต่อมาเลื่อน C มาทางขวา เกิดแรงอัดน้ำผ่านวาวล์ทางเดียว G ไปที่ถัง B อัดเข้าและออกหลายๆครั้ง จนกระทั่งแรงดันในถัง B มากขึ้น พร้อมที่จะลั่นไก
หน้าถัดไป เรามายิง ซุปเปอร์โซคเกอร์กัน
|