ทฤษฎีการแบ่งกั้นเท่าพลังงาน (Theorem of Equipartition of energy) |
|
|
เป็นผลของการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของพลังงานในแต่จะรูปแบบการจัดเก็บพลังงานซึ่งเมื่อใช้กลศาสตร์สถิติเข้ามาคำนวณหาค่าเฉลี่ยดังกล่าวแล้วจะพบว่าในแต่ละรูปแบบของการจัดเก็บพลังงานจะมีพลังงานเท่ากัน หรือกล่าวในอีกนัยหนึ่งก็คือมีการแบ่งปันพลังงานให้แต่ละรูปแบบของการจัดเก็บพลังงานในสัดส่วนเท่า ๆ กันนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น ระบบที่ประกอบไปด้วยแก๊สที่มีวิธีเก็บพลังงานในรูปของพลังงานจลน์ของการเคลื่อนที่ในแนวแกน x หรือ y หรือ z สามรูปแบบ จะมีพลังงานในแต่ละรูปพลังงานเท่ากัน กล่าวคือพลังงานจลน์ที่คิดเฉพาะการเคลื่อนที่ในแนวแกน x จะเท่ากับพลังงานจลน์ ที่ที่คิดเฉพาะการเคลื่อนที่ในแนว y และจะเท่ากับพลังงานจลน์ที่คิดเฉพาะการเคลื่อนที่ในแนวแกน z
แต่ละรูปแบบการจัดเก็บพลังงานที่แตกต่างกันนี้จะแสดงมิติของระบบ เช่น แก๊สที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีมิติของการเคลื่อนที่ 3 มิติ คือมิติของการเคลื่อนที่ในแนวแกน x,y,z ตามลำดับ จำนวนมิติจะเรียกว่า ระดับชั้นความเสรี (Degree of Fredom) เช่น ระบบข้างต้นนี้จะมีระดับชั้นความเสรีเท่ากับ 3
|