ต้องยอมรับว่าปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้นในห้วงปัจจุบัน –
อนาคตคือฝีมือมนุษย์
และปัญหาที่จะตอกย้ำอนาคตอีกก็คือปัญหาขยะนอกโลกที่นับวันจะทวีคูณไปอีก
เหมือนการส่งขีปนาวุธออกไปนอกโลก
แล้วรอวันที่ขีปนาวุธในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งดาวเทียม สถานีอวกาศ
ตกลงสู่โลก โดยไม่รู้ว่าจะหล่นตรงไหน น่ากลัวจริง ๆ
จากข้อมูลของศูนย์บัญชาการด้านอวกาศของสหรัฐฯ
นับตั้งแต่ยุคอวกาศเริ่มต้นขึ้นจากการส่งยานสปุตนิกของอดีตสหภาพโซเวียตในปี
พ.ศ.
2500
มีวัตถุที่มนุษย์ก่อให้เกิดขึ้นในวงโคจรรอบโลกราว
26,600 ชิ้น ซึ่งในจำนวนนี้ 17,700
ชิ้นได้ตกลงและเผาไหม้ในบรรยากาศโลก อีก
600 ชิ้น กระจายออกสู่อวกาศ
ที่เหลืออีก 8,300 ชิ้น
ยังคงโคจรอยู่รอบโลก ในจำนวนที่เหลือนี้มีเพียงร้อยละ
7-10 เท่านั้นที่เป็นดาวเทียมที่ยังทำงานอยู่
โดยมีหน่วยงาน NORAD
คอยติดตามการเคลื่อนที่ของขยะอวกาศและดาวเทียมต่างๆ เหล่านี้
อย่างไรก็ตามอีกด้านหนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยีด้วยดาวเทียมในรูปแบบต่าง
ๆ ทั้งการสื่อสาร แผนที่ การทดลองทางวิทยาศาสตร์
หรือการเข้าดำเนินกิจกรรมอวกาศที่มากขึ้น นอกจากจะให้ผลดีแล้ว
ก็ยังก่อให้เกิดผลกระทบปัญหาเรื่องของขยะอวกาศที่นับวันจะมีมากขึ้น
ขยะเหล่านี้อยู่ในอวกาศและโคจรรอบโลกที่ความสูงต่างๆ กัน
ขยะมาจากชิ้นส่วนจรวดส่งดาวเทียม
และดาวเทียมที่หมดอายุการใช้งาน แล้วเป็นต้น
ซึ่งในอนาคตแต่ละประเทศก็จะแข่งกันมีดาวเทียมของตนเองมาก ๆ
เพื่อใช้ในกิจการต่าง ๆ ซึ่งก็คงจะทราบว่าทั้งสหรัฐฯ รัสเซีย
จีน อินเดีย ฯลฯ ก็เริ่มที่จะใช้อวกาศเป็นสมรภูมิรบกันแล้ว
ขณะนี้เรามีดาวเทียมที่กำลังทำงานอยู่ประมาณ
500
ดวงและมีดาวเทียมที่หมดสภาพทำ งานแล้วประมาณ
2,000 ดวง
หากเรานับชิ้นส่วนที่เกิดจากการระเบิดของจรวดส่งดาวเทียมและถังเชื้อเพลงของจรวดที่ใชง้านแลว้
เราก็เห็นได้ว่า ขยะอวกาศมีจำนวนเป็นแสนชิ้นทีเดียว
ขยะเหล่านี้มี้ ขีนาดและความเร็วต่างๆ กัน
เศษขยะที่มีขนาดเล็กพริกขี้หนูหากมีความเร็วสูงจะมีพลังทำลายสูง
เศษโลหะขนาด
0.1
มิลลิเมตร หากมีความเร็ว 5
เมตร/วินาที
สามารถทะลวงชุดอวกาศของมนุษย์อวกาศให้พรุนเป็นรูได้
ขยะขนาดใหญ่ 0.5 มิลลิเมตร
สามารถชนกระจกหน้าต่างของกระสวยอวกาศให้แตกละเอียดได้
และหากขยะมีขนาด "มโหฬาร"
ถึง 5 มิลลิเมตร
ผนังห้องบังคับการของยานอวกาศก็มีสิทธิ์ไปและนั่นก็หมายความว่า
มนุษย์อวกาศไม่กลับโลก แต่จะไปสวรรค์เลยตัวเลขจำ
นวนดาวเทียมและยานอวกาศทั้งที่ใช้งานแล้ว และกำ ลังใช้งานอยู่
ส่วนใหญ่เป็นผลงานของหน่วยงานรัฐบาล แต่ในอนาคตอันใกล้นี้
เอกชนกำ ลังวางแผนจะส่งดาวเทียมสื่อสารของตนขึ้นไปอีกหลายดวง
นั่นหมายความว่า ในอีก 10 ปี เราจะมี
"ขยะ"
มากขึ้นอีก 3 เท่าของปัจจุบัน
ด้วยพลังของเหตุและผลดังกล่าวนี้ จึงเมื่อเร็วๆ
นี้ได้มีการประชุมของนักวิทยาศาสตร์ประมาณ
200 คน ที่ Darmstadt
ในประเทศเยอรมนี
เพื่อหาวิธีกำจัดขยะอวกาศที่ประชุมได้พิจารณาแบ่งดาวเทียมออกเป็นสองประเภท
ประเภทแรกเป็นพวกที่มีวิถีโคจรตํ่าคือที่ระดับสูง
200-2,000 กิโลเมตรเหนือโลก
และพวกที่โคจรสูงคือระดับ 36,000
กิโลเมตร
ถึงแม้ดาวเทียมทั้งสองประเภทจะมีเพดานโคจรสูงแตกต่างกัน
แต่ก็มีโอกาสชนกันได้ เพราะเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2540
จรวด Ariane 4
ได้ระเบิด ชิ้นส่วนของจรวดได้พุ่งเข้าชนดาวเทียม Cerise
ของฝรั่งเศส ทำให้วิถีโคจรของ Cerise
ต้องเปลี่ยนไป
ในการทำลายขยะนั้นที่ประชุมได้พิจารณาที่จะยิงเลเซอร์จากพื้นดินไปเผาขยะในอวกาศ
แต่โครงการนี้ต้องใช้งบประมาณ
2,600-4,500
ล้านบาท เพื่อกำจัดขยะที่มีวงโคจรตํ่า และ
7,000 ล้านบาทสำ หรับขยะที่ลอยสูง
เมื่อโลกวิทยาการปัจจุบันยังไม่มีเลเซอร์พลังสูงเช่นนี้ใช้เลย
ความคิดนี้เห็นจะต้องพักรอ เพราะนอกจากจะมีโอกาสสำ
เร็จน้อยแล้วยังแพงอีกต่างหาก
และปัญหาใหญ่คือมีประเทศใดบ้างที่เต็มใจจะลงขันในโครงการกำจัดขยะอวกาศนี้
และควรจะบอกให้เจ้าของขยะอนุมัติก่อนที่จะทำลายหรือไม่
แล้วสำหรับขยะแต่ละชิ้นๆ
ใครจะบอกได้อย่างไรว่าเป็นฝีมือของใครทำและที่สำคัญก็คือเวลาขยะชนกัน
ในอวกาศที่ไม่มีกฏจราจร ขยะใครชนขยะใครกันแน่
ในกรณีของจรวด
Ariane
กับดาวเทียม Cerise
นั้น
คู่กรณีเป็นของฝรั่งเศสแต่หากเป็นกรณีระหว่างชาติหนึ่งกับอีกชาติหนึ่ง
เรื่องนี้ถึงศาลโลกแน่ๆจะอย่างไรก็ตาม
ที่ประชุมก็มีความเห็นว่า ปัญหาขยะอวกาศยังไม่ถึงระดับวิกฤติ
ที่ประชุมได้เสนอใหประเทศต่างๆ ที่มีความสามารถด้านอวกาศ
ใหอ้อกแบบดาวเทยีมโดยมีเชื้อเพลิงบรรจุภายในสำหรับเวลาดาวเทียมหมดสภาพใช้งาน
มันจะใช้เชื้อเพลงนั้นบังคับตัวมันให้พุ่งเสียดสีกับบรรยากาศรอบโลกจนลุก
ไหม้เป็นจุณหมด
ผมว่ามนุษย์นี่ก็เก่งจริงนะ สร้างขยะบนโลกยังไม่พอ
แถมยังไปสร้างขยะบนอวกาศอีก
เป็นเรื่องที่น่าจะเป็นปัญหาที่จะส่งผลกระทบอันใกล้นี้ครับ
อ้างอิง
www.sasosedlacek.com
http://thaiastro.nectec.or.th/
www.ipst.ac.th
โดย
อาคม
|